ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ผักพายเป็นไม้น้ำ พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีน้ำขัง เช่น หนองน้ำ สระ คู ห้วย ผักพาย เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นเป็นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น ใบขึ้นเหนือผิวน้ำ บางครั้งมีไหลสั้นๆ จำนวนมาก ใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างกลมรี ยาว 15-18 ซม. กว้าง 12 ซม. มีก้านใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้ำก้านใบยาว ประมาณ 30ซม.ก้านใบสีเขียวอ่อนเป็นเหลี่ยมอวบน้ำพองลม(คล้าย ก้านใบผักตบ)เมื่อหักก้านใบจะพบมียาง สีขาวซึมออกมา แผ่นใบใหญ่และแผ่คล้ายใบตาลแัตรดอกเป็นดอกช่อแบบร่ม มีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบ ดอกสีเหลืองหลุดร่วงง่ายเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกย่อ ประมาณ 1.5 ซม
ประโยชน์ทางยา
ผักพายช่วยเจริญอาหารและมีสรรพคุณป้องกันไข้หัวด
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลต้นอ่อนก้านใบอ่อนและดอกอ่อนของผักพายสามารถรั บประทานเป็นผักสดแกล้มแับส้ม ตำลาบก้อยน้ำพริกและยังทำเป็นผักสุกโดยการลวกเป็นผัก จิ้มน้ำพริกชาวอีสานนำผักพายมาปรุงเป็นก้อยผัก พาย ทำให้รสชาติของผักพายอร่อยมากขึ้น
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ผักพายมีรสหวานมันและออกขมเล็กน้อยช่วยเจริญอาหารกอง โภชนาการกระทรวงสาธารณสุขได้วิเคราะห์ สารอาหารในผักตะสะปัดฤาษีหรือตะละปัดใบพายไว้ซึ่งคาด ว่าจะเป็นชนิดเดียวกับผักพายเพราะภาคกลาง เรียกผักพายว่าตาลปัตรฤาษีผักตะละปัดฤาษี 100กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 14 กิโลแคลอรี่ ประกอบ ด้วยเส้นใย 18 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 501 ไมโครกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.08 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม
แหล่งที่มาข้อมูล http://www.baanmaha.com/forums/showthread.php?t=3660
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น