วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

มากินผักกันเถอะ

อาหารพื้นเมืองอีสานมักจะต้องมีส่วนปรุงรส หรือชูรสด้วยผักพื้นบ้านอีสาน ซึ่งมีเอกลักษณ์ทางด้านถิ่นกำเนิด กลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ หายากเพราะมีผลผลิตออกมาตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังเป็นพืชผักที่ให้คุณค่าทางด้านสุขภาพอนามัย ปลอดสารพิษ ทำให้เป็นที่นิยมกันทั่วไปไม่ว่าจะทำอาหารประเภทลาบ ก้อย ต้ม แกง อ่อม ล้วนต้องใช้ผักพื้นเมืองเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้นในอาหารที่แนะนำให้รู้จักได้ กล่าวถึงผักหลายชนิด ท่านอาจจะสงสัยว่า คือผักอะไรกันแน่ มีสรรพคุณอย่างไร เรามารู้จักกันหน่อยดีกว่า 

ใครใครหันมาใส่ใจในวิถี
เพื่อชีวีกายใจไม่เสื่อมถอย
อาหารการกินมื้อรอคอย
จะเกี่ยวก้อยไปกินอย่างไรดี

ควรเลือกสรรสิ่งดีสู่ชีวิต
ชีวจิตคือทางเลือกกายสุขี
แต่ก็ยากลำบากในบางที
โบราณชี้คุณค่าผักสวนครัว

ผักหรือคือแหล่งแร่ธาตุที่สำคัญ
มาสนุกสุขสันต์กันถ้วนทั่ว
หฤหรรย์เปรมปรีดิ์อย่าได้กลัว
แล้วยิ้มยั่วให้โรคภัยที่ห่างไกล

ผักช่วยลดความอ้วนอันผวา
หากตั้งหน้าตั้งตาอย่างที่ใผ่
ลดความเสี่ยงต่อโรคนานาภัย
แล้วจะสวยสมใจในพริบตา

สาวเอยหนุ่มเอยอยากหุ่นสวย
ไม่ต้องรวยด้วยไขมันพอกพูนหนา
ถึงไม่สวยไม่หล่อด้วยหน้าตา
สุขอุรากายใจมั่นความแข็งแรง 

ขอขอลคุณบทกลอนดีๆจาก  http://board.dserver.org/b/bandokbua3/00000340.html

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ผักแพว หรือ พริกม้า

ชื่อสามัญ คือ Vietnamese coriander หรือ Vietnamese mint หรือ Vietnamese cilantro ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum ในภาคเหนือเรียก ผักไผ่ชาวจังหวัดนครราชสีมาเรียก “ ผักจันทน์โฉม ” ชาวอีสานเรียก “ พริกม้า ” ชาวอยุธยาเรียก “ หอมจันทน์ ” ส่วน “ ผักแพว ” นี้เป็นคำเรียกของชาวจังหวัดอุดรธานี ลักษณะเป็นพืชล้มลุก ชอบดินชื้น ลักษณะลำต้นเล็กแตกกิ่งได้ ใบเรียวคล้ายใบไผ่แต่บางกว่า ออกดอกเมื่อต้นแก่และตายไป เมล็ดงอกยาก จึงนิยมหักกิ่งไปปักชำ ในทุกส่วนของผักแพวจะมีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดเล็กน้อย สามารถช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ คนอีสานจึงนิยมกินผักแพว เป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริก ใส่เป็นเครื่องเคียง หรือนำมาปรุงร่วมกับอาหารจานเผ็ดประเภท ลาบ ก้อย ต้มเผ็ด เป็นต้น และยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และให้คุณค่าทางโภชนาการไม่น้อยเลย เพราะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินเอ และซี มีไฟเบอร์สูง จึงช่วยให้ขับถ่ายได้คล่อง นอกจากนี้ยังพบว่าส่วนอื่นๆ ของผักแพวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน โดย ดอก ใช้ขับเหงื่อ รักษาโรคปอด ส่วนรากแก้โรคกระเพาะอาหาร ปวดกระดูก ปวดข้อ เป็นต้น ใบผักแพว ยังสามารถนำมาคั้น แล้วผสมแอลกอฮอล์ ทาแก้กลากเกลื้อนได้อีกด้วย

ผักพาย ผักตบใบพาย(อีสาน)Limnocharis flava Buch

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ผักพายเป็นไม้น้ำ พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีน้ำขัง เช่น หนองน้ำ สระ คู ห้วย ผักพาย เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นเป็นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น ใบขึ้นเหนือผิวน้ำ บางครั้งมีไหลสั้นๆ จำนวนมาก ใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างกลมรี ยาว 15-18 ซม. กว้าง 12 ซม. มีก้านใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้ำก้านใบยาว ประมาณ 30ซม.ก้านใบสีเขียวอ่อนเป็นเหลี่ยมอวบน้ำพองลม(คล้าย ก้านใบผักตบ)เมื่อหักก้านใบจะพบมียาง สีขาวซึมออกมา แผ่นใบใหญ่และแผ่คล้ายใบตาลแัตรดอกเป็นดอกช่อแบบร่ม มีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบ ดอกสีเหลืองหลุดร่วงง่ายเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกย่อ ประมาณ 1.5 ซม
ประโยชน์ทางยา
ผักพายช่วยเจริญอาหารและมีสรรพคุณป้องกันไข้หัวด
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลต้นอ่อนก้านใบอ่อนและดอกอ่อนของผักพายสามารถรั บประทานเป็นผักสดแกล้มแับส้ม ตำลาบก้อยน้ำพริกและยังทำเป็นผักสุกโดยการลวกเป็นผัก จิ้มน้ำพริกชาวอีสานนำผักพายมาปรุงเป็นก้อยผัก พาย ทำให้รสชาติของผักพายอร่อยมากขึ้น
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ผักพายมีรสหวานมันและออกขมเล็กน้อยช่วยเจริญอาหารกอง โภชนาการกระทรวงสาธารณสุขได้วิเคราะห์ สารอาหารในผักตะสะปัดฤาษีหรือตะละปัดใบพายไว้ซึ่งคาด ว่าจะเป็นชนิดเดียวกับผักพายเพราะภาคกลาง เรียกผักพายว่าตาลปัตรฤาษีผักตะละปัดฤาษี 100กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 14 กิโลแคลอรี่ ประกอบ ด้วยเส้นใย 18 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 501 ไมโครกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.08 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม


แหล่งที่มาข้อมูล http://www.baanmaha.com/forums/showthread.php?t=3660

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

สะเดา (Neem Tree)

เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ ก้านใบ ผล เปลือก เมล็ดและราก มียอดใบอ่อนให้กินตลอดปีใช้เป็นอาหาร เป็นต้นไม้ที่แมลงไม่ชอบ จึงเป็นยาปราบศัตรูพืช ยอดของสะเดามีเบตา-แคโรทีนมากช่วยลดน้ำตาลในเลือด และใช้ประโยชน์ทางยาได้มากมาย

ใบยานาง

คนที่รู้จัก "ใบย่านาง, ใบยานาง" ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นคนภาคอีสาน หรือชอบกินอาหารอีสาน เพราะใบย่านางมักถูกใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของแกงหน่อไม้ และซุปหน่อไม้ คงมีหลายคนที่ชอบกินแต่คงไม่ทราบว่าน้ำสีออกดำๆ เขียวๆ ที่อยู่ในซุปหน่อไม้ หรือแกงหน่อไม้นั้นได้มาจากน้ำของ "ใบย่านาง" นั่นเอง 
            แม้ว่าสีของน้ำใบย่านางนั้นอาจจะดูไม่ค่อยน่ากินสักเท่าไร แต่น้ำจากใบย่านางนั้นจะช่วยทำให้หน่อไม้ดองมีกลิ่นหอมและมีรสชาติกลมกล่อม เพราะช่วยกำจัดกลิ่นเปรี้ยวและรสขมออกไป ทำให้อาหารจานนั้นแซบนัวหลายๆ หรือหากจะนำยอดอ่อนใส่ในแกงต่างๆ ก็เพิ่มความอร่อยได้ด้วยเช่นกัน
            นอกจากความเเซบแล้ว ใบย่านางยังมีสรรพคุณในการช่วยถอนพิษ แก้ไข้และลดความร้อนในร่างกายได้ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ให้แคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง และยังให้สารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน หากกินทั้งใบก็จะมีเส้นใยมาก ส่วนรากของใบย่านางช่วยถอนพิษ แก้ไข้ แก้เมารถ เมาเรือ แก้โรคหัวใจและแก้ลมได้ด้วย ขอแถมให้อีกนิด หากนำน้ำใบย่านางมาสระผม จะช่วยทำให้ผมดกดำ ชลอผมหงอกได้อีกต่างหาก

แคขาว แคแดง

ยอดใบ ดอกและฝักเรานำมากินเป็นผัก นึ่งใส่ปลา ลวกจิ้มแจ่ว แซบแท้ๆ และยังเป็นยาแก้ท้องเดิน ท้องร่วง สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้บิด มูกเลือด แก้ไข้หัวลม เปลือกต้นแคนั้นมีสรรพคุณทางยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะในลำคอ ใช้ฝนเอามาทาแผลเปื่อย แผลสดได้ผลดี ส่วนใบนำมาตำพอกแผลสดเพื่อสมานเนื้อให้หายเร็ว

เพกา หรือ ลิ้นฟ้า

     เพกา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Oroxylumindicum (Linn.) Vent. เป็นไม้ยืนต้นสูงชะลูดขนาดกลาง แตกกิ่งก้านบนยอดสูง ใบออกเป็นช่อใหญ่อยู่ที่ปลายกิ่ง มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตรงยอด มีสีม่วงอมแดง บางทีก็สีน้ำตาลคล้ำ ผลออกเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบ กว้างประมาณ 2.4-9 ซม. ยาว 60-120 ซม. ปลายฝักแหลม ตรงกลางขอบมีรอยโป่งเล็กน้อย เมื่อฝักแก่ รอบข้างของฝักจะปริแตก ข้างในมีเมล็ดมากมาย  เมล็ดมีลักษณะแบน มีเยื่อบางใสหุ้มอยู่โดยรอบเมล็ด  เพกา  คนจีนเรียกว่า "โซยเตียจั้ว" ใช้เป็นส่วนผสมตัวหนึ่งของน้ำจับเลี้ยง ดื่มแก้กระหายคลายร้อน ดับร้อนในได้เป็นอย่างดี ส่วนเปลือกของต้นเพกา ผู้เฒ่าผู้แก่จะเอามาต้มน้ำให้แม่ลูกอ่อนดื่ม ช่วยขับน้ำคาวปลา ให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ดับพิษโลหิต และบำรุงเลือด  นอกจากนี้ชาวบ้านยังเอาเปลือกเพกาไปเผาไฟ จากนั้นก็นำมาแช่น้ำเย็น เอาน้ำนั่นแหละดื่มแก้ร้อนใน  เพกา  หรือ  ลิ้นฟ้า ผักพื้นบ้านที่นิยมกิน ฝักกันถ้วนทั่วทุกภาค โดยเฉพาะคนพื้นบ้านภาคเหนือและภาคอีสาน  ในแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป  ภาคกลาง  ภาคใต้เรียก "ฝักเพกา"  ภาคเหนือเรียก "มะลิ้นไม้" "ลิ้นไม้"  ภาคอีสานเรียกว่า "หมากลิ้นฟ้า" "ฝักลิ้นฟ้า" "ฝักลิ้นงู" "ลิ้นไม้" "ลิ้นฟ้า"  นั่นเป็นเพราะฝักเพกามีลักษณะแบนยาว ห้อยระย้าอยู่เหนือเรือนยอดต้นที่สูงเสียดฟ้า